11/29/2552

รักษาสุขภาพดวงตา ด้วยบิลเบอร์รี่

บิลเบอร์รี่(Bilberry)

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ในตระกูล Ericaccae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vaccinium myrtillus ซึ่งเป็นพืชสายพันธุ์ใกล้เคียง กับ Blubery ของแถบอเมริกาเหนือ เราจะพบบิลเบอร์รี่ มากในประเทศแถบยุโรป แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ในอังกฤษและยุโรปตอนเหนือ มักจะนิยมนำผลบิลเบอร์รี่สุกมาทำเป็นแยมมานานกว่า 100 ปีแล้วนอกจากนี้ยังนำส่วนของใบและก้าน ไปทำเป็นผลแห้งเพื่อทำเป็นผงชาสำหรับดื่มเพื่อสุขภาพกันอย่างแพร่หลายอีกด้วยบิลเบอร์รี่ เริ่มฮิตติดอันดับเครื่องดื่มสุขภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการที่นักบินในหน่วยทหารอากาศของประเทศอังกฤษ นำผลบิลเบอร์รี่สุกมารับประทาน แล้วพบว่าทำให้ความสามารถในการมองเห็นตอนกลางคืนดีขึ้น และทำให้อาการเมื่อยล้าของดวงตาเมื่อใช้สายตานานๆ น้อยลง

หลังจากนั้น อีกถึง 20 ปี จึงได้มีการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์กันอย่างจริงจัง ว่าทำให้บิลเบอรี่จึงให้ผลดีต่อสุขภาพของดวงตาอีกครั้งหนึ่งจากผลการวิเคราะห์และวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากหลายๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี ได้ค้นพบว่าสารที่สำคัญในบิลเบอร์รี่ ดังนี้
1. แอนโธไซยาโนไซด์ (Anthocyanosides) สามารถจับกับเซลล์บุผิว( pigmented epithelium) ที่จอภาพเรตินาได้ดี โดยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีเลิศ (Anti-oxidant) ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ และคืนสภาพสาร rhodopsin ได้หลังจากถูกแสง จึงช่วยทำให้การมองเห็นในที่มืดได้ดี

2. แทนนิน(Tannins) มีฤทธิ์ในการสมานแผล(Astingent) และให้ผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค เช่น พวกแบคทีเรียบางชนิด

3. ฟลาโวนอยด์(Flavonoid) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) เช่นกัน และยังเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนหลายชนิดที่สำคัญต่อมนุษย์

4. กลูโคควินิน(Glucoquinine) เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้การทำงานของอินซูลิน ทำให้การควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

ประโยชน์ของอาหารเสริมที่สกัดจากบิลเบอร์รี่ต่อสุขภาพดวงตา

1. ช่วยถนอมดวงตา ทำให้การมองเห็นในที่มืดดีขึ้น
2. ช่วยรักษาอาการตาบอดกลางคืน ( Night blindness)
3. ช่วยลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา เมื่อใช้สายตานานๆ
4. ช่วยป้องกันเลนส์ตาและช่วยให้คอลลาเจนในตาในส่วน cornea และหลอดเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น
5. ช่วยลดอนุมูลอิสระในจอตา ทำให้ป้องกันอาการเสื่อมที่มักจะเกิดกับดวงตาให้น้อยลงได้ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ตาเสื่อมในคนสูงอายุ(สายตายาว)

สรรพคุณอื่นๆ ที่ค้นพบนอกจากนี้ คือ

1. พบว่าสารแทนนิน ในผลบิลเบอร์รี่สามารถบรรเทาอาการท้องเสีย อาการคลื่นไส้ และภาวะอาหารไม่ย่อยได้
2. พบว่าสารสกัดจากผลบิลเบอร์รี่ สามารถลดอาการปวดเจ็บจากภาวะเส้นเลือดขอด (Varicose vein) ได้ เนื่องจากภาวะดงกล่าวเกิดจาก ความเสื่อมของเซลล์เช่นกัน
3. พบว่าสารสกัดจากผลบิลเบอร์รี่ สามารถใช้ลดอาการอักสเบในช่องปาก และเยื่อบุช่องปากได้
4. พบว่าสารสกัดจากผลบิลเบอร์รี่ ช่วยลดอาการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง ที่ทให้เกิดจุดด่างดำของผิวพรรณได้ปัจจุบันจึงได้มีการจดบันทึกว่า บิลเบอร์รี่เป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียง จึงมักนิยมนำมาเป็นอาหารเสริม และได้รับความสนใจ ในการนำมาใช้ในการรักษาสุขภาพในปัจจุบัน สำหรับคนสุงอายุ หรือคนที่ต้องการถนอมดวงตาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นและนานๆ

ผลิตภัณฑ์บิลเบอร์รี่

11/24/2552

เคล็ดลับดับเมาค้าง



เคล็ดลับ ด้บเมาค้าง

ผลลัพธ์จากการฉลองอาจทำให้หลายคนตื่นเช้าพร้อมกับอาการมึน เมาค้าง สมองไม่แจ่มใส จะทำอย่างไรให้เช้านั้นกลับมาสดชื่นพร้อมสู้งาน ลองทำตามเคล็ดลับต่อไปนี้ค่ะ

กินไข่ตุ๋นหรือซุปไก่ร้อนๆ จะมีกรดแอมิโนที่ชื่อว่าซิสเทอีน (cysteine) ที่นอกจากจะช่วยบรรเทาหวัดและลดอาการระคายคอแล้ว ยังออกฤทธิ์ลดอาการเมาค้างได้อย่างชะงักนัก หรือจะเป็นกล้วยหอมปั่นผสมน้ำผึ้งที่มีโพแทสเซียมและน้ำตาลฟรักโทส ช่วยให้สมองสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สร่างเมาเป็นปลิดทิ้ง แต่อย่าเผลอใส่น้ำผึ้งมากเกินไปจนหวานจัด เพราะจะทำให้ง่วงนอนได้

หากไม่มีเวลาเตรียม 2 เมนูข้างต้น จะลองใช้วิธีพื้นฐานอย่างการกินผลไม้รสเปรี้ยวก็ได้ผลดีเช่นกันแต่ทางที่ดีอย่าปล่อยให้ตัวเองดื่มเพลินจนเกินไปจะดีกว่าค่ะ

ข้อมูล : นพ. กฤษดา ศิรามพุช

Health & Cuisine

5 บุคลิกภาพ ทำลายกระดูกสันหลัง

มาดูกันว่าท่ายืน เดิน นั่ง นอน ของคุณกำลังทำร้ายเสาเอกอย่างกระดูกสันหลังอยู่หรือไม่

1. การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียวจะทำให้สมดุลร่างกายผิดปกติ การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้งสองข้างเท่าๆกัน โดยยืนแยกขากว้างเท่าสะโพก

2. การใส่ส้นสูงเกินนิ้วครึ่งจะทำให้กระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติจนปวดหลัง

3. การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ จนกล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแล็กติก ทำให้ปวดเมื่อยและอาจมีปัญหากระดูกผิดรูป

4. การนั่งกอดอกจะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ถูกยืดออกจนทำให้หลังค่อมและกระดูกคอยื่นมีผลต่อเส้นประสาทที่แขน อาจทำให้มืออ่นแรงหรือชาได้

5. การนอนขดตัวหรือนอนเอียงทำให้กระดูกคดผิดรูป ท่านอนหงายให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบเป็นท่านอนที่ถูกต้องและดีต่อกระดูกของคุณที่สุดค่ะ


ข้อมูล : สาระน่ารู้โดยโรงพยาบาลกรุงเทพ

11/22/2552

หลากหลายโรคภัยเรื่องไทรอยด์



ต่อมไทรอยด์ อาจฟังคุ้นหูแต่ไม่ค่อยรู้ว่าสำคัญอย่างไร ผู้ป่วยจำนวนมากที่มีโรคไทรอยด์แฝงอยู่ แต่ไม่เคยทราบว่าสาเหตุของอาการผิดปกติเหล่านั้น มาจากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ...

ต่อมไทรอยด์เป็นเสมือนหน่วยสร้างความสมดุลให้กับร่างกายหลายระบบ หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติจะส่งผลให้ร่างกายหลายส่วนเกิดปัญหาตามมา ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติอาจมีอาการแสดงได้หลายรูปแบบ เช่น เฉื่อยชา ง่วงเหงาหาวนอนบ่อย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น ขี้ร้อน สมาธิสั้น อยู่ไม่ค่อยสุข กระวนกระวาย หิวบ่อย น้ำหนักลดถึงแม้รับประทานมาก เป็นตะคริวง่าย ในผู้หญิงประจำเดือนอาจมาน้อยลง บางกรณีอาจมามากผิดปกติ หรืออาจขาดหายไป

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่ใหญ่ที่สุดในระบบต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่สร้าง “ฮอร์โมนไทรอยด์” และปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนไทร็อกซินหรือที่เรียกว่า ที4 (T4) และ ฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีนหรือที่เรียกว่า ที3 (T3) ซึ่งฮอร์โมนที่ถูกปล่อยออกไปจะออกฤทธิ์ต่อเซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย

หน้าที่ของฮอร์โมนไทรอยด์

ฮอร์โมนไทรอยด์ทำหน้าที่หลายอย่างในร่างกายและครอบคลุมเซลล์เป้าหมายที่หลากหลาย โดยไม่สามารถระบุอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งโดยเฉพาะ รวมทั้งประสานการทำงานกับระบบน้ำย่อยและฮอร์โมนอื่นๆ อาจพอสรุปได้ว่าฮอร์โมนไทรอยด์เกี่ยวข้องกับระบบและหน้าที่ในร่างกายดังนี้ เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการ การเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่างๆระบบการเผาผลาญอาหาร ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและ ไขมัน มีทั้งการสังเคราะห์และการสลาย เพื่อให้การดำเนินงานของอวัยวะต่างๆ เป็นไปตามปกติผลิตความร้อน รักษาอุณหภูมิในร่างกายกระตุ้นการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ส่วนหนึ่งผ่านระบบประสาทอัตโนมัติสัมพันธ์กับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจ และหลอดเลือด ระบบประสาทสมอง เป็นต้นประสานการทำงานของระบบฮอร์โมนอื่นๆ อีกหลายชนิดในร่างกาย

ไอโอดีนกับต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์นำไอโอดีนมาเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมน ความต้องการไอโอดีนต่อวันที่แนะนำคือ 150 ไมโครกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ และ 200 ไมโครกรัมต่อวันในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร คอพอกจากการขาดไอโอดีนทำให้เกิดปัญหาต่อไปนี้ ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์หลั่งออกมามาก ต่อมไทรอยด์โตมากขึ้นตามระยะเวลาและความรุนแรงของการขาดอาจมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป เด็กแรกคลอดมีโอกาสเป็นโรคเอ๋อ หรือขาดฮอร์โมนต่อมไทรอยด์แต่กำเนิดมากขึ้น

คอพอก หมายถึง ภาวะต่อมไทรอยด์โตกว่าปกติ ในความรู้สึกของชาวบ้านคอพอกอาจจะสื่อความหมายที่ค่อนข้างรุนแรง มองเห็นภาพคอที่โตยื่นออกมาเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำ และนึกถึงการขาดไอโอดีน หรือ อาหารทะเล ในทางการแพทย์ต่อมไทรอยด์ที่มีขนาดโตขึ้นเรียกรวมกันว่า Goiter (กอยเตอร์) ซึ่งอาจมีก้อนหลายลักษณะ เช่น โตทั้งต่อมมีผิวเรียบไม่ขรุขระ โตเป็นก้อนเดียวโดดๆ ข้างซ้ายหรือขวาข้างใดข้างหนึ่ง โตเป็นก้อนมากกว่า 1 ก้อนและมีหลายขนาด เป็นต้น

ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

ต่อมไทรอยด์โตแต่ทำหน้าที่ปกติ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษคือทำงานมากเกินไป ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ต่อมไทรอยด์โต แต่สร้างฮอร์โมนตามปกติ หลายคนไม่ทราบว่าต่อมไทรอยด์ตัวเองโตจนกระทั่งมีคนทัก หมอตรวจพบ หรือคลำได้เอง นั่นแสดงว่าต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้นไม่ทำให้เกิดอาการ ยกเว้นบางภาวะ เช่น ก้อนเกิดจากการอักเสบ หรือมีเลือดออกในต่อมไทรอยด์อย่างกะทันหัน ทำให้มีอาการเจ็บบริเวณที่เป็นก้อน ในบางกรณีต่อมไทรอยด์อาจโตมากและดันไปด้านหลัง กดต่อหลอดคอหรือหลอดอาหาร ทำให้มีอาการหายใจลำบากโดยเฉพาะเวลานอน หรือกลืนลำบาก

ต่อมไทรอยด์โตร่วมกับการสร้างฮอร์โมนผิดปกติ ไม่ว่าจะสร้างมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ผู้ที่เป็นก็จะมีอาการแสดงของโรคไทรอยด์ได้ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จนระดับฮอร์โมนในเลือดสูงกว่าปกติ

อาการที่พบได้- เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น ขี้ร้อน เหงื่ออกมาก- หิวบ่อย น้ำหนักลดถึงแม้รับประทานมาก- สมาธิสั้น อยู่ไม่ค่อยสุข กระวนกระวาย- เครียด นอนไม่ค่อยหลับมีอาการทางด้านประสาทหรือด้านจิตใจได้ง่าย- บางรายถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นวันละ 2 – 3 ครั้ง ในผู้หญิง ประจำเดือนอาจมาน้อยลง ในผู้ชายอาจพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา และแขนส่วนต้น ในบางรายอาจพบตับโต และตัวเหลืองตาเหลือง ในรายที่ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษรุนแรงอาจมาด้วยอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวได้

การรักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตามจะมี 3 วิธี คือ

1. การให้ยายับยั้งการสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์
2. การให้ไอโอดีนเคลือบสารกัมมันตภาพรังสี คือ Iodine 131
3. การผ่าตัด

ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ

ต่อมไทรอยด์ ทำงานน้อย เป็นภาวะที่ตรงข้ามกับต่อมไทรอยด์ทำงานมาก กล่าวคือ ฮอร์โมไทรอยด์ในเลือดอยู่ในระดับน้อยเกินไป และทำให้เกิดอาการเนื่องจากมีฮอร์โมนไทรอยด์น้อย อาการที่พบได้เฉื่อยชา ขี้เกียจ ง่วงเหงาหาวนอนบ่อย น้ำหนักเพิ่มขึ้นบวมแบบกดไม่บุ๋ม ผิวหนังแห้ง หยาบ ผมหยาบหนา เปราะ ร่วงง่ายเหนื่อยง่าย รู้สึกหายใจไม่เต็มที่ ท้องผูกคิดช้า พูดช้า ซึมเศร้า ไม่มีสมาธิกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่ค่อยมีแรง เป็นตะคริวง่ายในผู้หญิงประจำเดือนอาจมามากกว่าปกติ หรือประจำเดือนขาดหายไปในรายที่เป็นมากอาการรุนแรงอาจพบน้ำอยู่ช่องต่างๆ ของร่างกาย เช่น ช่องปอด ช่องหัวใจการรักษา

ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย คือการให้ฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อชดเชยที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ จึงต้องรักษาไปตลอดชีวิต เมื่อชดเชยฮอร์โมนได้เพียงพอ ร่างกายก็จะกลับสู่ภาวะปกติ สิ่งสำคัญคือต้องชดเชยให้ฮอร์โมน อยู่ในระดับปกติตลอดไป

ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ จะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ หลากหลาย จนบางครั้งยากที่จะสังเกตได้ด้วยตัวเอง หากสงสัยหรือพบอาการผิดปกติใดๆ ควรเข้ารับการตรวจเพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัด ก่อนโรคจะเป็นมากจนมีอาการรุนแรง



ที่มา ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลเวชธานี

การดูแลผิวพรรณไม่ยากอย่างที่คิด



การดูแลผิวหน้า


การรักษาผิวหน้านั้นควรรักษาความชุ่มชื้นของผิวด้วยมอยเจอไรเซอร์ การบำรุงเฉพาะที่บริเวณบนใบหน้า ควรที่จะเริ่มต้นที่การบำรุงรอบดวงตาก่อน เพราะเป็นจุดที่อ่อนโยนและบอบบาง ถ้าเราใช้ครีมอย่างอื่นก่อนก็อาจจะมีส่วนของเนื้อครีมที่ตกค้างอยู่ที่นิ้วมือมาผสมกับครีมบำรุงรอบดวงตา ก็จะทำให้เนื้อครีมบำรุงนั้นเสื่อมสภาพไปได้"ส่วนการใช้ครีมบำรุงผิว ควรเลือกชนิดของครีมให้เหมาะกับสภาพของผิวหน้าที่แท้จริง และควรจะเลือกใช้ครีมให้เหมาะสมกับช่วงเวลาคือ ใช้เดย์ครีมสำหรับกลางวัน และไนท์ครีมสำหรับช่วงค่ำตั้งแต่19.00 น.เป็นต้นไป ที่สำคัญที่สุดให้พึงระลึกไว้เสมอว่า ครีมบำรุงที่ดีที่สุดก็ไม่สามารถช่วยคืนความอ่อนเยาว์ให้กับคุณได้ ถ้าการพักผ่อนของคุณนั้นไม่เพียงพอ ดังนั้น การพักผ่อนอย่างเต็มที่ก็เป็นเครื่องมือที่สำคัญอันดับต้นของผิวพรรณเลยทีเดียว


การดูแลรักษาผิวกาย


มีไม่น้อยที่คุณผู้หญิง-ชาย มักจะละเลย ด้วยเพราะชินกับสภาพอากาศที่ร้อนของบ้านเรา การทาครีมบำรุงจึงถูกจำกัดให้ใช้ในเฉพาะช่วงหน้าหนาว เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ละเลยผิวของคุณก็จะเป็นขุย ทั้งแห้ง บางรายออกอาการหนักถึงขั้นขึ้นลายงากันเลยทีเดียว อาการแบบนี้ แนะนำว่า ครีมบำรุงร่างกายมีความจำเป็นไม่แพ้ใบหน้า ยิ่งหน้าหนาวต้องบอกว่าจำเป็นที่สุด วิธีง่ายแสนง่าย ที่ทำได้เลยทันทีก็คือ ให้นำออยใสชโลมให้ทั่วหลังอาบน้ำ แล้วใช้เช็ดตัวเพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้คงความชุ่มชื้นได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญตรงช่วงรอยต่อของข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวเข่า ข้อศอก บริเวณมือ ฯลฯ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ๆ ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพราะแห้งง่าย และมักจะด้านแห้งพิเศษ ควรมีครีมเฉพาะ [Hand Cream] ที่มีความเข้มข้นพิเศษ พกติดตัวไว้ ก็จะเป็นผู้ช่วยประจำวันได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การดูแลที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เราต้องดูแลเพิ่มขึ้นไปอีก เช่น การเลือกรับประทานอาหารในแต่ละวันก็จะเป็นดัชนีบ่งชี้ได้ว่าคุณภาพผิวของคุณได้ ดังนั้นการบำรุงภายในร่างกายก็จะขึ้นอยู่กับการเลือกรับประทานแต่ละวันที่มีผักและผลไม้ในปริมาณที่มากพอ ก็อาจเลือกรับประทานวิตามินอีเสริมเข้าไปอีก ก็จะเป็นผู้ช่วยที่ดีเพิ่มขึ้นได้ ส่วนครีมบำรุงผิวหมออยากเปรียบให้เป็น คือเสื้อผ้าอาภรณ์ชั้นดีที่คอยป้องกันผิวหน้าจากแสงแดด สวยลม รวมถึงฝุ่นละอองต่างๆ นั่นเอง


“ สำหรับหน้าหนาว บางครั้งเราอาจรู้สึกได้ถึงความเย็นสบายไม่ร้อนเท่าที่ควรเมื่อตอนออกแดด ตรงนี้ต้องขอย้ำเตือนว่า แสงแดดในฤดูหนาวเย็นที่ให้ความรู้สึกร้อนน้อยกว่าทุกฤดูเพราะอุณหภูมิต่ำนั้น ความเข้มข้นของแสงอุลตราไวโอเลตก็จะมีเท่าเดิม ดังนั้นจึงประมาทไม่ได้ ดังนั้น ควรเลือกใช้มอยเจอไรเซอร์ หรือครีมกันแดด ที่มีค่า SPF 50 ขึ้นไป จะสามารถช่วยลดความแห้งกร้านของผิวได้ ”



ข้อมูลจาก รท.พญ. นิจวิภา เพชรรุ่ง

สิวปัญหาที่วัยรุ่นเกิดอาการเซ็ง

สิว (acne) มักเป็นในวัยรุ่น แต่บางครั้งเลยวัยรุ่นไปแล้วก็อาจเป็นได้ วัยรุ่นชายมีปัญหาเรื่องสิวมากกว่าวัยรุ่นหญิง ในขณะที่วัยรุ่นหญิงในช่วงมีประจำเดือนจะพบว่าเกิดสิวได้ง่าย "สิวหัวขาว" เป็นเม็ดนูนเล็กๆ ไม่มีรูเปิด ถ้ามีรูเปิดที่ผิวหนังมองเห็นเป็นจุดดำอยู่ตรงกลางเรียก "สิวหัวดำ" สิวอาจเกิดเป็นตุ่มนูนเล็กๆ แดงๆ อาจเห็นเป็นตุ่มหนอง หรือตุ่มนูนแข็งเม็ดโต หรือตุ่มแดงอักเสบแบบถุงซีสต์ ที่เรียกกันว่า "สิวหัวช้าง" สิวที่สร้างความวิตกกังวลมากที่สุดคือ สิวบริเวณใบหน้า แต่ในบางรายอาจพบมากที่บริเวณลำคอ แผ่นหลัง หน้าอก และลำตัว

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิว

ความผิดปกติของเซลล์ในชั้นหนังกำพร้าปริมาณสารไขมันที่สร้างมาจากต่อมไขมันเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่าPropionibacterium acnes ความรุนแรงของปฎิกิริยาอักเสบที่เกิดขึ้น ความผิดปกติของเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า
เซลล์ในชั้นหนังกำพร้าจะมีการมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ และลอกหลุดง่ายกว่าปกติ

จากการศึกษาวิจัยระยะหลังๆ นี้ พบว่าความผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องมาจาก โปรตีนสองชนิดที่ร่างกายผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก โปรตีนทั้งสองชนิดเป็นสารเคอราติน มีชื่อเรียกว่า keratin 6 และ keratin 12

ความสำคัญและบทบาทของโปรตีนทั้งสองชนิดนี้ กำลังได้รับความสนใจและนำมาศึกษาวิจัยในห้องปฎิบัติการอย่างกว้างขวาง และมียาใหม่ที่อยู่ในขั้นทดลองหลายชนิดด้วยกัน

โดยปกติเซลล์จะหลุดลอกจากเยื่อบุของรูขุมขน และต่อมไขมันจะช่วยเคลื่อนย้ายไปที่ผิวหนังส่วนนอก หากกระบวนการเคลื่อนย้ายถูกอุดกั้น ก็จะทำให้เกิดสิวขึ้น เรียกว่า retention hyperkeratosis

ยารักษาสิวชนิดทาที่ช่วยรักษาความผิดปกติของเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า ได้แก่ tretinoin, isotretinoin และ salicylic acid รวมทั้งยาในกลุ่มเรตินอยด์ชนิดใหม่ๆ เช่น tazarotene และยาปฏิชีวนะชนิด azelaic acid
ยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ topical tretinoin (Retin-A), adapalene (Differin), topical tazarotene (Tazorac), isotretinoin (Accutane) และ acitretin (Soriatane)

ไขมันที่สร้างมาจากต่อมไขมัน

การอักเสบของต่อมสร้างไขมัน บริเวณของรูขุมขนที่มีอยู่ทั่วไปตามผิวหนังของคนเรา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสิว ต่อมสร้างไขมันบริเวณรูขุมขนนี้ มีหน้าที่สร้างไขมันมาหล่อเลี้ยงผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไม่แห้ง มีความชุ่มชื้น บางครั้งมีการสร้างไขมันมากเกินไป ทำให้คั่งค้างอยู่ในรูขุมขนและเกิดการอักเสบ ต่อมาเมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้ามา จะทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นหัวสิว หรือตุ่มหนอง จากการศึกษาพบว่าปริมาณของไขมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับความรุนแรงของสิว

ตำแหน่งต้นตอที่เกิดสิว คือ ต่อมไขมัน ต่อมไขมันมีหน้าที่ผลิตไขมัน และมีท่อเปิดออกสู่รูขุมขน เพื่อให้ไขมันออกมาหล่อลื่นผิวหนังภายนอก ต่อมไขมันที่แต่ละตำแหน่งของร่างกาย มีขนาดและความหนาแน่นไม่เท่ากัน บริเวณใบหน้าจะมีต่อมไขมันขนาดใหญ่ และหนาแน่นกว่าบริเวณอื่น เราจึงพบสิวบริเวณใบหน้าได้บ่อย การสร้างไขมันขึ้นกับฮอร์โมนแอนโดรเจนและเอสโตรเจน แอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชายกระตุ้นให้มีการสร้างไขมัน โดยกระตุ้นเซลล์ที่เรียกว่า "ซีโบซัยท์" (sebocyte) ในขณะที่เอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงยับยั้งการสร้างไขมัน

เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากเซลล์สร้างไขมันมีโปรตีนตัวรับแอนโดรเจนอยู่ในนิวเคลียส ความไวของโปรตีนตัวรับจึงเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดสิวที่รุนแรงมากกว่าคนทั่วไป และมักจะรักษาไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนัก
เหตุที่สิวมักเกิดในวัยรุ่น เนื่องจากในวัยนี้จะมีระดับฮอร์โมนเพศสูง ทำให้กระตุ้นต่อมสร้างไขมันบริเวณขุมขนให้ผลิตไขมันออกมามากขึ้น ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดสิวได้มากยิ่งขึ้น เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดน้อยลงในช่วงท้ายๆ ของวัยรุ่น หรือในช่วงอายุ 20 ปีเศษ

ยาที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น norgestimate, desogestrel ยาต้านแอนโดรเจน เช่น cyproterone acetate และ spironolactone การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ต่อมสร้างไขมัน พบว่า testosterone เปลี่ยนเป็น dihydrotestosterone ซึ่งมีความแรงในการออกฤทธิ์มากกว่า เอนไซม์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องชื่อ 5-reductase จากรายงานการศึกษาวิจัยระยะหลัง ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง type II reductase ไม่สามารถลดการสร้างไขมันได้ ทำให้เชื่อว่ากลไกสำคัญอยู่ที่ type I isoenzyme มากกว่าเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า Propionibacterium acnes หรือ P.acnes

ในระยะแรกที่เริ่มเกิดหัวสิวมักจะตรวจไม่พบเชื้อนี้ แต่ในระยะท้ายๆ หรือระยะที่มีการอักเสบจะตรวจพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ทุกราย เดิมทีเดียวเรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าเชื้อแบคทีเรีย P.acnes ทำให้เกิดสิวได้อย่างไร แต่ผลการศึกษาวิจัยระยะหลังมานี้ เพิ่งจะพบว่าเชื้อแบคทีเรียกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวสองชนิดคือ โมโนซัยท์และนิวโตรฟิล ให้หลั่งโปรตีนสามชนิด IL-12, IL-8, และ TNF เป็นต้นเหตุให้เกิดการอักเสบขึ้น นอกจากนี้แต่ละคนยังมีความไวต่อเชื้อแบคทีเรีย P.acnes ไม่เหมือนกัน คนที่ไวมากจะเกิดโรคที่มีความรุนแรงมาก

เชื้อแบคทีเรีย P.acnes ย้อมติดสีแกรมบวก เป็นแบคทีเรียชนิดไม่พึ่งออกซิเจน ผลิตเอนไซม์ไลเปสย่อยสารไตรกลีเซอไรด์ในไขมันที่ผลิตจากต่อมไขมัน ให้กลายเป็นกลีเซอรอลและกรดไขมันอิสระ ช่วยให้แบคทีเรียเติบโตได้ดีขึ้น และกระตุ้นปฏิกิริยาการอักเสบให้รุนแรงขึ้น

ยาปฏิชีวนะชนิดทาที่นิยมใช้ ได้แก่ erythromycin, clindamycin, metronidazole, azelaic acid, และ benzoyl peroxide ส่วนชนิดรับประทาน ได้แก่ tetracycline, erythromycin, minocycline, doxycycline, clindamycin และ trimethoprim–sulfamethoxazole อย่างไรก็ตามการรักษาสิวโดยใช้ยาปฎิชีวนะเพียงอย่างเดียวจะไม่ได้ผลดีในผู้ป่วยทุกราย

การรักษาด้วยแสงชนิด Blue light therapy ซึ่งเป็นแสงคลื่นต่ำที่มีความเข้มสูง ได้รับความนิยมในการรักษาสิว ทำงานโดยการฆ่าเชื้อ P.acnes และใช้รักษาสิวอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาชนิดอื่น โดยทั่วไปจะรักษา 8 ครั้ง ในระยะเวลา 4 อาทิตย์ ใช้เวลา 15 นาทีในแต่ละครั้ง พบว่าเกิดผลข้างเคียงน้อย ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ Pulsed light and heat energy (LHE) therapy สามารถทำลายเชื้อ P. acnes และลดการผลิตไขมัน โดยการไปทำให้ต่อมไขมันหดตัวลง เป็นระบบที่ใช้แสงสีเขียวและความร้อน สำหรับสิวที่เป็นน้อยและปานกลาง

ปฎิกิริยาอักเสบที่เกิดขึ้น
ความรุนแรงของสิวแต่ละคนแตกต่างกันไป บางรายเป็นมาก บางรายเป็นน้อย ขบวนการอักเสบจะกำเริบได้ในช่วงมีความเครียด เช่น อดนอน หรือในผู้หญิงช่วงใกล้มีประจำเดือน นอกจากนี้การบีบแกะสิวจะกระทบกระเทือนและนำเชื้อโรคเกิดการอักเสบมากขึ้น และมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นเมื่อสิวหายแล้ว และที่พบได้บ่อยๆ

ยาบางอย่าง เช่น ยาที่มีสเตียรอยด์ผสมอยู่ หรือยาป้องกันการชักบางชนิด ก็ทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน การรับประทานยาที่ได้รับมาหรือซื้อหามาเองต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หากยานั้นมีสเตียรอยด์อยู่ด้วยจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้

ถ้าสิวรุนแรงหรืออักเสบมากขึ้น อาจต้องใช้ยารับประทาน ร่วมกับยาทา ยารับประทานในการรักษาสิว มีสามกลุ่มหลัก ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยากลุ่มกรดวิตะมินเอ และยาในกลุ่มฮอร์โมน ยารับประทานทั้งสามกลุ่ม ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ กว่าจะได้ผลเต็มที่ และมักต้องให้ยาต่ออีกระยะ หลังได้ผลในการรักษาแล้ว จึงจำเป็นต้องใช้ในความควบคุมดูแลของแพทย์ เพราะการรับประทานยาเหล่านี้ในระยะเวลานานๆ มีความจำเป็นต้องตรวจเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา เช่น ตรวจดูการทำงานของตับไต ไขมันในเส้นเลือด เป็นต้น นอกจากนั้น แพทย์จะช่วยประเมินให้ได้ว่า มีความเสี่ยงในการใช้ยาในกลุ่มดังกล่าวหรือไม่ เช่น คนที่มีประวัติมะเร็งเต้านม หรือเส้นเลือดอุดตันในครอบครัว คนที่สูบบุหรี่ ไม่ควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นต้น

ปัจจุบันยังมีการนำแสงเลเซอร์และแสงความเข้มสูงมาใช้ในการรักษาสิว ผลการศึกษาพบว่าได้ผลดีพอสมควร จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในกรณีไม่สามารถใช้การรักษาโดยวิธีมาตรฐานได้



ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

http://www.bangkokhospital.com
http://www.bangkokhealth.com

11/20/2552

คอลลาเจน คือ อะไร



คอลลาเจน ทำหน้าที่เป็นกาวเชื่อมเซลล์แต่ละเซลล์เข้าด้วยกัน คอลลาเจนโปรตีนมีปริมาณมากถึง 1 ใน 3 ของโปรตีนในร่างกาย อยู่ในผิวหนังชั้นหนังแท้ หลังอายุ 20 ปี คอลลาเจนโปรตีนจะเสื่อมสภาพลง ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสลายตัวของคอลลาเจนคือ อนุมูลอิสระที่เกิดจากแสงแดด มลพิษต่างๆ บุหรี่ สารปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไป และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ชั้นผิวหนังมีการยุบตัวลง ต้นเหตุของ ความเหี่ยวย่น ริ้วรอย และความชราของผิวพรรณ และริ้วรอย คอลลาเจนมีคุณสมบัติรักษาน้ำในผิวและช่วยป้องกันเชื้อโรค จึงถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ที่มีแผลไฟไหม้

ประโยชน์ : คอลลาเจนเสริมความเรียบตึง ของผิวหนัง ทำให้ผิวแข็งแรง เรียบเนียน ทำงานเสริมกับโปรตีนที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ ‘อิลาสติน’ ในขณะที่คอลลาเจนมีหน้าที่เสมือนโครงสร้างของผิว ช่วยให้ผิวเต่งตึง อิลาสตินจะมีหน้าที่สร้างความยืดหยุ่นให้กับผิว ทำให้มีความแข็งแรง ทนต่อสภาพถูกทำลาย ช่วยกระชับกล้ามเนื้อไม่ให้หย่อนยาน ผิวหนังไม่เหี่ยวย่น ชะลอ เยียวยาการเกิดริ้วรอย และยังบำรุงเล็บ เส้นผมให้มีสุขภาพดีอีกด้วย

11/19/2552

'ข้ออักเสบ' บรรเทาได้หากรับประทานอย่างถูกวิธี


โรคข้ออักเสบเป็นโรคที่พบบ่อย มักรู้จักกันในชื่อของข้อเสื่อม ซึ่งหลายๆคนคงคิดว่าเป็นโรคที่มากับอายุ แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่น้ำหนักเยอะก็พบว่าเป็นโรคนี้ได้เช่นกันค่ะ นักวิจัยพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินพิกัด 20% ขึ้นไปเพิ่มความเสี่ยงโรคข้ออักเสบมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติถึง 3 เท่า ฉะนั้นผู้ที่อ้วนต้องลดน้ำหนักเพื่อลดภาระข้อต่อในการที่จะต้องรองรับ น้ำหนักมาก เพียงการลดน้ำหนักลงเล็กน้อย เช่น 1/2 กิโล ก็จะบรรเทาอาการปวดลงได้อย่างมาก การออกกำลังกายร่วมกับการลดน้ำหนักนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการลดอาการปวดค่ะ

อาหารก็เป็นปัจจัยสำคัญ ที่สามารถช่วยได้ จากการค้นคว้าของนักวิจัยชาวเยอรมันพบว่าการอดอาหารและตามด้วยอาหารมังสวิรัต 3 เดือน ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อได้ การหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ก็สามารถลดอาการจากโรคข้อเสื่อมได้ ทำนองเดียวกันนักวิจัยชาวสวีเดนพบว่าผู้ที่ทนทุกข์ทรมานกับโรคข้ออักเสบ หลังจากที่เปลี่ยนมาบริโภคอาหารเมดิเตอเรเนียนซึ่งประกอบไปด้วยผัก ถั่วต่างๆ ผลไม้ ซีเรียล ปลา และน้ำมันมะกอก แอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะไวน์) เพียงเล็กน้อย และจำกัดไขมันอิ่มตัวให้น้อยที่สุดเพียง 3 เดือน พบว่าสามารถลดการอักเสบและทำให้ข้อต่อทำงานดีขึ้น

การบริโภคผัก ผลไม้ และสมุนไพรเป็นประจำจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคมากมายรวมทั้งข้ออักเสบ นักวิจัยจากอังกฤษพบว่าอาหารที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ เบตาคริปโทแซนทิน และซีแซนทินจะช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ดีกว่าอาหารที่มีสาร พิกเมนต์น้อย สีแดง ส้ม เหลืองจากผักและผลไม้เป็นแหล่งที่ดีของสารเหล่านั้น นักวิจัยแนะว่าเพียงแค่ น้ำส้มวันละแก้วก็สามารถลดความเสี่ยงของข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ ล่าสุดนักวิจัยพบว่าเชอรี บลูเบอรี และแบล็คเบอรี มีสารฟลาโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารแอนติออกซิแดนท์ช่วยบำบัดอาการจากโรคข้อ อักเสบ นอกจากนี้กระเทียม หอม แขนงผัก และกะหล่ำปลีมีสารสารประกอบของกำมะถันซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาช่วยในการบำบัดอาการ ข้ออักเสบ

สมุนไพรบางชนิด เช่น ขิง มีฤทธิ์ลดอาการปวดและต้านการอักเสบ เชื่อกันว่าขิงช่วยลดอาการปวดข้อและข้ออักเสบและป้องกันกระเพาะจากผลข้าง เคียงในผู้ที่ใช้ยาประเภทเอ็นเสด (NSAIDs) มีข้อมูลการวิจัยทางคลินิคที่แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากขิงช่วยลดอาการปวดจาก โรคข้อเข่า