3/14/2554

6 เคล็ดลับลดน้ำหนัก

  1. จดบันทึกอาหาร  จดทุกอย่างที่กินแล้วเปรียบเทียบกับสิ่งที่คุณกินตอนเริ่มลดน้ำหนัก ผลการศึกษาพบว่าเราลืมไปเยอะเลยว่ากินอะไรไปบ้างตลอดทั้งวัน ดังนั้นให้ซื่อตรงกับตัวเอง ลองคิดสิว่าคุณกินบิสกิตเพิ่มไปรึเปล่า?
  2. ตระหนักว่าเมื่อน้ำหนักลดก็ต้องกินน้อยลงด้วย ยิ่งคุณตัวเบาลงแค่ไหนก็ต้องการพลังน้อยลงเท่านั้น
  3. ความหลากหลายคือสิ่งสำคัญ การกินอาหารซ้ำซากทุกวันทำให้คุณโหยหาของหวาน
  4. ทบทวนแอโรบิกรายสัปดาห์ ร่างกายต้องได้รับการผลักดันให้เผาผลาญไขมันและสร้างกล้ามเนื้อ ดังนั้นคุณต้องออกกำลังมากขึ้นด้วยการเพิ่มระยะเวลาออกกำลัง
  5. สร้างแรงบันดาลใจเข้าไว้ เตือนตัวเองว่าทำไมถึงอยากลดน้ำหนักตั้งแต่แรก และจะดูดีแค่ไหนถ้าทำได้ตามเป้าหมาย
  6. ทำตามแผนการกินของเรา จะช่วยได้ถ้าคุณลดน้ำหนักสามกิโลนั้นลงไปได้ในหกสัปดาห์

ข้อมูลจาก Slimming

3/10/2554

ตรวจมะเร็งเต้านมจาก “เส้นผม”


ล่าสุดได้มีงานวิจัย ที่คิดค้นวิธีการตรวจหามะเร็งเต้านมแบบใหม่จากการตรวจสภาพเส้นผมด้วยรังสีเอกซ์ ซึ่งค้นพบโดยนักวิจัยจาก บริษัทเฟอร์มิสแคน (Fermiscan Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่ในนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

นักวิจัยได้ทดสอบเทคนิคดังกล่าวกับกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวน 13 ราย เปรียบเทียบกับผู้หญิงสุขภาพแข็งแรง 20 ราย พบว่า เส้นผมของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมต่างจากผมของผู้หญิงที่ไม่เป็นโรค โดยเลือกตัดเอาเส้นผมชิดกับผิวหนังให้มากที่สุด ซึ่งเป็นบริเวณที่เส้มผมล่าสุดเพิ่งงอก จากนั้นนำไปฉายด้วยรงสีเอกซ์ จะเห็นการกระเจิงของคลื่นรังสีเอกซ์ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป


งานวิจัยดังกล่าวได้ตีพิมพ์ใน วารสาร International Journal of Cancer รายงานว่า เส้นผมของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีวงแหวนความหนาแน่นต่ำปรากฏอยู่ และเป็นเครื่งหมายที่ฟ้องว่าเป็นมะเร็งเต้านมอย่างชัดเจน


นักวิจัยยังลองศึกษาเส้นผมอายุ 6 เดือนของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เป็นผมที่ร่วงหลังจากเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด พวกเขาพบตำแหน่งการกระเจิงของแสงที่แตกต่างไปจากเส้นผมของคนสุขภาพปกติ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ ตำแหน่งที่อยู่ไกลสุดจากปลายผม กลางผม และรากผม บริเวณดังกล่าวมีความหนาแน่นลดน้อยลงตามลำดับ


ส่วนสาเหตุที่เส้นผมของผู้ป่วยมะเร็งกับคนสุขภาพปกติแตกต่างกัน เป็นเพราะใยของเส้นผมผู้ป่วยมะเร็งมีสารไลปิดน้อยลง อันเป็นผลมาจากภาวะเนื้องอก ทั้งนี้ นักวิจัยยังต้องทดสอบเพิ่มเติมเพื่อตรวจดูความแม่นยำของระเบียบวิธีวิจัย ก่อนจะนำมาใช้เป็นเทคนิคตรวจหามะเร็งเต้านมต่อไป


แต่ไม่ว่าเราจะมีเทคโนโลยีที่ทั้งทันสมัยและแม่นยำเพียงใด หากเรารู้จักดูแลสุขภาพตัวเองกันก่อนที่จะเจ็บป่วยย่อมเป็นการดีกว่า จริงไหมคะ

ข้อมูลจาก นิตยสารชีวจิต

3/09/2554

มารู้จักเชื้อโรคที่มากับอาหารกัน

เชื้อโรคที่มากับอาหารมาได้จากหลายทางค่ะ ถ้าได้รับเชื้อแล้ว อาการมักจะเหมือนๆกัน คือมีอาการปวดท้อง ท้องร่วง แต่ก็มีอาการหลายอย่างที่แตกต่างกันบ้าง บางชนิดอาจทำให้คุณมีอาการปวดท้อง ท้องร่วงเป็นเดือน หรือหลายๆเดือนเลยก็ได้ ถ้ารักษาไม่ถูกเชื้อถูกโรค เรามารู้จักเชื้อโรคที่ทำให้เราเกิดอาการปวดท้องกันค่ะ

- Campylobacter เกิด 2-7 วัน ทำให้ท้องร่วง อาเจียน มีไข้เนื่องจากอาหารสัตว์ปีก เนื้อบด ไส้กรอกไม่สุก

- Salmonella เกิด 8-72 ชั่วโมง ทำให้ติดเชื้อเหมือนหวัดลงกระเพาะ เนื่องจากเนื้อ สััตว์ปีก และผลิตภัณฑ์นม ไข่

- Listeria เกิด 8-90 วัน มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด อาเจียน ปัสสาวะจาง เนื่องจากอาหารดิบ

- E.Coli เกิด 3-4 วัน ทำให้เสียดท้อง ท้องร่วง เนื่องจากอาหารไม่สะอาด เกี่ยวพันกับชีส น้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ เนื้อบดปรุงไม่สุก

- Golden steph เกิด 1-6 ชั่วโมง มีอาการคลื่นไส้ เสียดท้อง อาเจียน ท้องร่วง เกี่ยวพันกับอาหารเช่น แฮม ไส้กรอก สลัด ขนมไส้ครีม

- Botulinum เกิด 12-36 ชั่วโมง อาการอาเจียน ท้องร่วง ตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแอ เกี่ยวพันกับอาหารเช่นอาหารกระป๋องและผักในน้ำมัน

- Novirus เกิด 24-48 ชั่วโมง ทำให้คลื่นไส้ เสียดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว มีไข้ เกี่ยวพันกับการปรุงอาหารสัตว์ปีก หอย และอาหารที่ปรุงโดยคนซึ่งติดเชื้อ

ถ้าผู้ป่วยมีอาการอาเจียนมาก รับประทานไม่ได้ ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายเป็นน้ำ มีไข้ ควรนำส่งโรงพยาบาลนะคะ

อ้างอิงข้อมูลจาก Slimming Magazine

3/08/2554

สูตรสร้างสุข



สูตรสร้างสุข

ได้มีการวิจัยพบว่า พันธุกรรมมีส่วนประมาณร้อยละ 50 ของผลลัพธ์ความสุข ในขณะที่สภาพความเป็นอยู่ของชีวิตมีผลต่อความสุขเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ส่วนอีกร้อยละ 40 ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตัวคุณเองเป็นคนทำให้มีความสุข แต่คนส่วนใหญ่ในโลกใบนี้มักคิดว่า การมีเงินมากมายในบัญชีฝากธนาคาร มีบ้านหลังใหญ่ หรืองานที่ดี จะทำให้ชีวิตสดใสขึ้น แม้สิ่งเหล่านี้จะให้ความรู้สึกพึงพอใจชั่วครู่ชั่วยาม แต่แล้วความสุขก็จะค่อยๆจางหายไป ฉันตื่นเต้นมากตอนที่ได้รถยนต์ที่อยากจะได้มานาน แต่พอสองเดือนผ่านไป ฉันก็รู้สึกเฉยๆ การขับรถใหม่กลายเป็นความจำเจในที่สุด

ในงานวิจัยของ ซอนยา ลูโบเมียร์สกี นักจิตวิทยาและผู้เขียน "อย่างไรเรียกว่าสุข" วิธีคิดเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ชีวิตแบบที่เราต้องการ ค้นพบว่า กญแจที่ไขความสุขให้เราได้นานขึ้นคือ การมองข้ามขั้นความพึงพอใจแบบชั่วครู่ชั่วยามไปสู่ความสุขที่แท้จริง ซึ่งวิธีที่เหมาะจะแตกต่างไป ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น บางคนอาจตั้งใจไว้ว่าจะทำความดีวันละ 5 อย่างทุกวัน และทำเช่นนี้ตลอดไป ในขณะที่อีกคนแค่จดไดอารี่และขอบคุณสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของวันนั้นๆ แค่นี้ก็ทำให้สุขใจแล้ว


รวยกว่า สุขกว่า จริงหรือ

จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับความสุขของคนในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และประเทศในทวีปยุโรป พบว่า มีความสัมพันธ์กันน้อยมาก ในบรรดาคนที่จน แม้ช่วงแรกจะมีความสุขต่ำแต่เมื่อถึงจุดเพียงพอที่มีเงินมากขึ้นเล็กน้อย เงิน 50,000 เหรียญก้อนที่สองก็ไม่ได้ทำให้มีความสุขเหมือนเงินก้อนแรกที่ได้รับ เมื่อเทียบความสุขระหว่างการขับรถสปอร์ตราคาแพง การเดินกลับบ้านหรือนั่งรถเมล์กลับ ชาาวสกอตแลนด์จำนวนมากบอกว่าแทบไม่มีอะไรต่างกัน

หลายคนในโลกนี้ รู้สึกแย่มาก และอิจฉากับความสำเร็จของคนที่รวยกว่า หรือมีฐานะดีกว่าตน จนทำให้ชีวิตไม่เป็นปกติ และหมดความสุขในใจอย่างสิ้นเชิง


มีเรื่องเล่าอยู่เรื่องหนึ่ง อาจารย์ท่านนี้ขีดเส้นตรงขึ้นมา 1 เส้น แล้วให้ลูกศิษย์ลองทำเส้นให้สั้นลงโดยไม่ต้องลบ บรรดาลูกศิษย์ทำไม่ได้ เพราะยึดติดกับการลบเส้นเพื่อทำให้เส้นสั้นลง อาจารย์จึงทำการขีดเส้นตรงอีกเส้นหนึ่งที่ยาวกว่าเส้นแรก


ยิ่งเราขีดเส้นที่สองยาวกว่าเส้นแรกมากแค่ไหน ก็จะทำให้เส้นตรงเส้นแรกนั้นดูสั้นลง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปลบเส้นแรกเลย เปรียบเหมือนคนที่เขาประสบความสำเร็จ เราก็ไม่จำเป็นต้องไปรู้สึกอิจฉาเร่าร้อน หรือหาทางทำลายความสำเร็จของเขาให้สั้นลงไป ในขณะเดียวกัน เราสามารถพัฒนาตัวเราเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เหมือนเส้นตรงที่ลากยาวขึ้นไม่รู้จบแค่นี้ เส้นตรงของคนอื่นก็ดูสั้นลงไปโดยปริยาย และไม่จำเป็นต้องไปลบเส้นของคนอื่นออกเสียด้วยซ้ำ


ข้อมูลจาก คุณเพ็ญประภา วัฒนรัตน์

3/07/2554

กินผลไม้อย่างไร ถึงจะดีต่อสุขภาพ

ผลไม้มีมากมาย แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าจะดีต่อสุขภาพของเรา เรามาดูรายละเอียดกันค่ะ

ผลไม้กับผู้ที่น้ำหนักเกิน

สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือผู้ที่อ้วน มีความจำเป็นต้องลดน้ำหนักลงหรือไม่ต้องการให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ก็ต้องเลือกชนิดของอาหารรวมทั้งปริมาณให้พอกับกิจกรรมที่ใช้พลังงานไป เพื่อที่จะได้ไม่เหลือสำหรับร่างกายสะสมไว้ในรูปของไขมันในร่างกาย ผลไม้ก็เช่นเดียวกัน เพราะผลไม้จะมีคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาล ถ้าเป็นผลไม้ที่มีรสหวานมาก ก้จะมีน้ำตาลซึ่งจะให้พลังงานมากกว่าผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยกว่า เช่น เงาะ ทุเรียน ลำไย องุ่น สับปะรด ผลไม้ที่มีรสหวานน้อย เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล แก้วมังกร และถ้าเป็นผลไม้ที่นำไปคั้น ซึ่งต้องใช้ผลไม้ปริมาณมากและส่วนใหญ่จะดื่มได้ในปริมาณที่มากๆ ก็อาจจะทำให้เราได้รับพลังงานมากเกินไปด้วย ดังนั้นผู้ที่มีน้ำหนักเกินควรจะกินผลไม้รูปของผลไม้สดที่มีใยอาหารอยู่จะดีกว่ากินในรูปของผลไม้ที่นำไปคั้น

ผลไม้กับผู้ป่วยเบาหวาน

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานมักจะได้รับคำแนะนำว่าให้กินผลไม้ที่รสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล แก้วมังกร ส้มโอ จะดีกว่า และคำแนะนำเกี่ยวกับค่าดัชนีน้ำตาลซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องเลือกกินผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำด้วยก็จะเป็นการดี อย่างไรก็ตามข้อมูลค่าดัชนีน้ำตาลของผลไม้ก็ยังมีไม่มาก บางคนสงสัยว่าผลไม้รสไม่หวานนั้นค่าดัชนีน้ำตาลควรจะต่ำด้วย เช่น ส้มโอขาวน้ำผึ้งมีค่าดัชนีน้ำตาล เท่ากับ 59 ซึ่งมีค่ามากกว่ามะม่วงอกร่องสุก และชมพูทับทิมจันทร์ ซึ่งมีค่าดัชนน้ำตาลเท่ากับ 51 และ 50 ตามลำดับ ซึ่งเป็นเพราะน้ำตาลในผลไม้มีทั้งน้ำตาลซูโครส น้ำตาลกลูโครส และน้ำตาลฟรุคโตส ซึ่งผลไม้บางชนิดถึงแม้รสจะไม่หวานจัดแต่น้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบคือน้ำตาลกลูโคส เป็นส่วนใหญ่ก็จะมีผลต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรกินผลไม้ในรูปแบบของผลไม้สดที่เป็นชิ้นๆที่มีทั้งใยอาหารต่างๆจะดีกว่า เพื่อที่ร่างกายจะได้ค่อยๆย่อยแล้วดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อิ่มท้องได้นาน และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

ผลไม้กับผู้ป่วยโรคไต

ในผู้ป่วยโรคไตอาจจะต้องมีการจำกัดปริมาณน้ำที่จะได้รับในแต่ละวัน เพราะเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าในผลไม้จะมีน้ำค่อนข้างมากกว่าอาหารชนิดอื่น และผลไม้ต่างชนิดกันก็จะมีปริมาณน้ำแตกต่างกันด้วย เช่น ชมพู่ จะมีปริมาณน้ำมากกว่าแตงโมจินตหรา และมากกว่าสตรอว์เบอร์รี่ ส่วนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ร่างกายไม่สามารถขับโพแทสเซี่ยมสูง โดยเฉพาะแก้วมังกร ส้ม ทุเรียน มะละกอ กล้วย ดังนั้นในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องเลือกชนิด และปริมาณของผลไม้ให้ดีก่อนรับประทาน

อ้างอิงข้อมูลจาก คุณสุจิตต์ สาลีพันธ์